ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาชมเว็บไซต์ค่ะ/ครับ เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทย รวมถึงงานเทศกาลประเพณีต่างๆ ยินดีรับทุกคำติชม และความคิดเห็นต่างๆ ค่ะ/ครับ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายศิลปวัฒนธรรม


   ความหมายของศิลปะ

     ศิลปะ คือ ความงาม คุณค่าของความงดงาม หรือผลงานของมนุษย์ที่มีจุดมุ่งหมายการสร้างสรรค์และแสดงออกถึงความงาม เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของมนุษย์ ให้มนุษย์มีอารมณ์เพลิดเพลินและมีความสุขแห่งชีวิตอย่างแท้จริง

     ขอบข่ายของงานศิลปะ
                 -      วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพพิมพ์ วรรณกรรม นาฏศิลป์
                 -      ประยุกต์ศิลป์ (Applied Artes) เช่น ศิลปะพื้นบ้าน




 ความหมายของวัฒนธรรม

                  •     วัฒนธรรม พ.ศ.2483 ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ. 2485 นิยามความหมายว่า วัฒนธรรมหมายความว่า ลักษณะที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
               •     มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า "วัฒนธรรม" ไว้มากมาย แต่เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญแล้ว สรุปได้ว่า "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป



เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย
     วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี
     วัฒนธรรมทางวัตถุ
     วัฒนธรรมทางจิตใจ
     วัฒนธรรมทางจารีต/ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่นพระราชพิธี
     วัฒนธรรมทางสุนทรียะ เช่น ทัศนศิลป์ การแสดง




ลักษณะวัฒนธรรมไทย

     พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
     มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
     มีอักษรไทย/ภาษาไทย
     ประเพณีไทย
     ศิลปกรรมไทย เช่น สถาปัตยกรรม วรรณกรรม
     มารยาท
     วัฒนธรรมพื้นฐานเช่น การแต่งกาย อาหาร ยาไทย
วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นทำให้คนไทย แตกต่างจากชาติอื่น ๆ มีเอกลักษณ์ประจำชาติที่เห็นได้จากภาษาที่ใช้ อุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนการ แสดงออกที่นุ่มนวล อันมีผลมาจากสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท สภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดี กล่อมเกลาจิตใจมีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดมา

                


ที่มา  (เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อการท่องเที่ยวอ.จิรานุช  โสภา)





3 ความคิดเห็น: